บทอาขยานบทหลัก ชั้นประถมศึกษาปีที่
1 แมวเหมียว แมวเอ๋ยแมวเหมียว รูปร่างประเปรียวเป๐นนักหนา ร้องเรียกเหมียวเหมียวเดี๋ยวก็มา เคล้าแข้งเคล้าขาน่าเอ็นดู รู้จักเอารักเข้าต่อตั้ง ค่ําค่ําซ้ํานั่งระวังหนู ควรนับว่ามันกตัญํู พอดูอย่างไว้ใส่ใจเอย นายทัด เปรียญ ฝนตกแดดออก ฝนตกแดดออก
นกกระจอกแปลกใจ โผผินบินไป ไม่รู้หนทาง ไปพบมะพร้าว
นกหนาวครวญคราง พี่มะพร้าวใจกว้าง ขอพักสักวัน ฝนตกแดดออก นกกระจอกพักผ่อน พอหายเหนื่อยอ่อน
บินจรผายผัน ขอบใจพี่มะพร้าว ถึงคราวช่วย
วันพุธที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
วันพฤหัสบดีที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
มหาชาติหรือมหาเวศสันดรชาดก
มหาชาติหรือมหาเวศสันดรชาดก
ความเป็นมา
พุทธศาสนิกชนชาวไทยนับถือกันมาแต่ครั้งโบราณว่า
มหาเวศสันดรเป็นชาดกที่สำคัญกว่าชาดกเรื่องอื่น
เพราะว่าด้วยเรื่องราวที่ปรากฏบารมีของพระโพธิสัตว์อยู่โดยบนิบูรณ์ทั้ง ๑๐ บารมี
นอกจากนี้ยังมีผู้นำมหาเวสสันดรชาดกไปแต่งเป็นภาษาไทยอีกหลายสำนวน
และใช้คำประพันธ์หลายชนิด เช่น กลอน ฉันท์ กาพย์ ลิลิต และร้อยแก้ว
รวมทั้งยังมีมหาเวสสันดรชาดกที่เป็นภาษาถิ่นอีกหลายฉบับ
ประวัติผู้แต่ง
- สำนักวัดถนน –
กัณฑ์ทานกัณฑ์
- สำนักวัดสังข์กระจาย
– กัณฑ์ชูชก
- พระเทพโมลี
(กิ่น) – กัณฑ์มหาพน
- เจ้าพระยาพระคลัง
(หน) –กัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี
มงคลสูตรคำฉันท์
มงคลสูตรคำฉันท์
ความเป็นมา
เมื่อ พ.ศ. 2466
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่6
ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเกทคำฉันท์ โดยใช้คำประพันธ์ 2
ชนิด คือกาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 ทรงนำคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้ง
แล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์
โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี
การจัดวางลำดับของมมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตามที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง
วันพุธที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
ความเป็นมา
บทความเรื่อง
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ
พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดย นิสิตคณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติผู้แต่ง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามราชกุมารี
ทรงประกอบพระราชกรณียกิจหลายประการ ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง
และงานแปล ในงานพระราชนิพนธ์แต่ละเรื่อง พระองค์จะใช้นามแฝงที่แตกต่างกันไป เช่น
ก้อนหิน แว่นแก้ว หนูน้อย เป็นต้น
หัวใจชายหนุ่ม
เรื่องหัวใจชายหนุ่ม
๑.ความเป็นมา
หัวใจชายหนุ่ม
เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ ดุสิตสมิต”เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๔
ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ
รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน
๒.ประวัติผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่
๖
แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลา ๑๕ ปีที่ทรงครองราชย์ (พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘)
ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร
การปกครองการต่างประเทศ และโดยเฉาะด้านอักษรศาสตร์
นิราศนรินทร์คำโคลง
นิราศนรินทร์คำโคลง
นิราศนรินทร์คำโคลง
ความเป็นมา
นิราศ
เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ
เท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบัน นิราศเรื่องแรกของไทยนั้นคือ โคลงนิราศหริภุญชัย
ซึ่งแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา
๑.๑ ลักษณะของนิราศ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พุทธศักราช ๒๕๔๒ อธิบายว่า “นิราศ” หมายถึง
.เรื่องราวที่พรรณนาถึงการจากกัน
๑.๒ เนื้อหาของนิราศ
เนื้อหานิราศส่วนใหญ่มักเป็นการคร่ำครวญของกวี
(ชาย) ต่อสตรีอันเป็นที่รักเนื่องจากต้องพลัดพรากจากนางมาไกลไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุใดก็ตาม
อย่างไรก็ตาม
อาจกล่าวได้ว่าวรรคดีนิราศมักมีความเศร้าเพราะร้างรักเป็นแก่นเรื่องของรายละเอียดอื่นๆ
ที่ปรากฏในเนื้อเรื่องเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น
นิทานเวตาล (เรื่องที่ 10)
ความเป็นมา นิทานเวตาล
ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย โดยมีชื่อเดิมว่า “เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ
โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน
แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน
จำนวน 9 เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์ อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ
10 เรื่อง เมื่อ พ.ศ. 2461
อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง
ความเป็นมา
อิเหนา
เป็นวรรณคดีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ
ซึ่งชาวชวาได้แต่งขึ้นเอเฉลิมพระเกียรติแด่พระมหากษัตริย์ ชวาพระองค์นี้ทรงนำความเจริญให้แก่ชาวชวา
ซึ่งพระองค์เป็นทั้งนักรบ นักปกครอง และพระองค์ทรงมี พระราชธิดา ๑ พระองค์
และพระราชโอรส ๒ พระองค์ เมื่อพระราชธิดาของพระองค์ได้ทรงเสด็จออกผนวช
จึงได้แบ่งราชอาณาจักรเป็น ๒ ส่วน คือกุเรปัน และ ดาหา
ต่อมาท้าวกุเรปันได้ทรงมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง
และท้าวดาหาทรงมีพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง ซึ่งทั้งสองพระองค์มีพระนามว่า
อิเหนาและบุษบา เมื่อเจริญพระชันษา
อดีตพระราชธิดาของกษัตริย์พระองค์เดิมที่เสด็จออกผนวช
จึงมีพระดำริให้อิเหนา
คำนมัสการคุณานุคุณ
คำนมัสการคุณานุคุณ
๑. ความเป็นมาคำนมัสการคุณานุคุณ เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร
(น้อยอาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกและสำนึกในคุณงามความดีของพระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้อ่าน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย
ยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
คำนมัสการคุณานุคุณที่คัดมาให้ศึกษามีเนื้อหาแบ่งออกเป็น ๕ ตอน
แต่ละตอนมีที่มาจากคาถาภาษาบาลี ดังนี้
คำนมัสการพระพุทธคุณ : อะระหัง
สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ
การวิจักษ์วรรณคดี
การวิจักษ์วรรณคดี
หมายถึงอะไร
การวิจักษ์วรรณคดี หมายถึง การอ่านวรรณคดี
โดยใช้ความคิดพิจารณาไตร่ตรอง กลั่นกรองแยกแยะและแสวงหาเหตุผล
เพื่อประเมินคุณคาของวรรณคดีไดอยางมีเหตุผล
และพิจารณาไดว่าหนังสือแต่ละเรื่องแต่งดีแต่งด้อยอย่างไร
ใช้ถอยคำและสำนวนภาษาได้ไพเราะหรอลืกซึ้งเพึ้ยงใดใหคุณค่า
ความรูข้อคิดและคติสอนใจ หรอถ่ายทอดให้เห็นสภาพชีวิต ความคิด ความเชื่อของคน
ในสังคมอยางไร
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)